ข้อแนะนำคอนกรีตทนน้ำเค็ม VS คอนกรีตต้านทานซัลเฟต

บทความนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับข้อแนะนำคอนกรีตทนน้ำเค็ม และข้อแนะนำคอนกรีตต้านทานซัลเฟตกัน ว่าทั้งคอนกรีตทนน้ำเค็ม และคอนกรีตต้านทานซัลเฟตนั้นมีการใช้งานแบบไหน และมีเรื่องอะไรที่คุณควรรู้บ้าง ว่าแล้วก็อย่ามัวเสียเวลา เราไปหาคำตอบนั้นพร้อมๆ กันเลย ข้อแนะนำคอนกรีตทนน้ำเค็ม VS คอนกรีตต้านทานซัลเฟต ข้อแนะนำคอนกรีตทนน้ำเค็ม : หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น ข้อแนะนำคอนกรีตต้านทานซัลเฟต : หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานซัลเฟตของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม […]